วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552

หน่วยที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการผูกผ้าและการจับจีบผ้า
1. การผูกผ้าและการจับจีบผ้า
2. โอกาสที่ใช้ในการผูกผ้าและจับจีบผ้า
3. ประโยชน์ของการผูกผ้าและจับจีบผ้า
สาระสำคัญ
การผูกผ้า คือ การสร้างสรรค์รูปแบบของการผูก การมัด และการจับดอก เพื่อให้การประดับตกแต่งสถานที่มีความสวยงามมากขึ้น
การจับจีบผ้า คือ ลักษณะการม้วน การพับ การซ้อน การย่น การบิดเกลียว หรือ การจับจีบผ้าให้เป็นรูปแบบต่างๆ
การผูกผ้าและการจับจีบผ้ามักใช้เป็นส่วนประกอบในการตกแต่งสถานที่จัดงานในโอกาสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานพระราชพิธี งานพิธี หรืองานแนะนำสินค้า หรือ การจัดงานทางธุรกิจ ฯลฯ ซึ่งรูปแบบของการผูกผ้าและจับจีบผ้าจะมีลักษณะอย่างไรขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน วัตถุประสงค์ของ การจัดงาน โครงสร้างของสถานที่ที่จะตกแต่ง
สาระการเรียนรู้
1. การผูกผ้าและการจับจีบผ้า
2. โอกาสที่ใช้ในการผูกผ้าและการจับจีบผ้า
3. ประโยชน์ของการผูกผ้าและการจับจีบผ้า
ผลการเรียนรู้
1. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการผูกผ้าและการจับจีบผ้า
2. มีทักษะในการผูกผ้าและการจับจีบผ้าในโอกาสต่างๆ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของการผูกผ้าและการจับจีบผ้า
2. บอกลักษณะของการผูกผ้าและการจับจีบผ้า
3. มีทักษะในการผูกผ้าและการจับจีบผ้าในโอกาสต่างๆ
4. เห็นคุณค่าในการผูกผ้าและการจับจีบผ้าในโอกาสต่างๆ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการผูกผ้าและการจีบผ้า
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีธรรมชาติ สวยงาม มีพรรณไม้ดอก ไม้ประดับหลากหลาย ซึ่งคนไทยนิยมนำทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นมาใช้ประดับตกแต่งสถานที่ ในงานพิธี หรืองานเทศกาลและการจัดงานต่าง ๆ แต่ปัจจุบันทรัพยากรเหล่านั้นมีจำนวนลดน้อยลง หายากขึ้น เนื่องจากความเจริญทางวัตถุได้รุกล้ำพื้นที่ที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น จึงมีการนำวัสดุอื่น ๆ มาใช้ในการตกแต่งทดแทน เช่น การใช้ลูกโป่ง การใช้ผ้า เป็นต้น
สำหรับการใช้ผ้าเป็นวัสดุที่ใช้ในการตกแต่งสถานที่ กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เพราะเป็นวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ในภายหลัง และสามารถเลือกสีของผ้า และรูปแบบของการตกแต่งได้ตามลักษณะของงาน จึงทำให้มีผู้ศึกษาวิธีการตกแต่งสถานที่ด้วยการผูกผ้าและจับจีบผ้าเพิ่มมากขึ้น
1. การผูกผ้าและการจับจีบผ้า
1.1 ความหมายของการผูกผ้าและการจับจีบผ้า
การผูกผ้า ( Bind Down ) หมายถึง การปฏิบัติงานในการสร้างสรรค์รูปแบบของผลงานด้วยการผูก การมัดและการจับดอก เพื่อสร้างงานและเพิ่มมูลค่าของผลงานให้เกิดความสวยงาม
การจับจีบ ( Pleating ) หมายถึง การสร้างสรรค์รูปแบบของงานในการปฏิบัติงานด้วยการม้วน การพับ การซ้อน การจีบ การบิดเกลียว การรูดหรือการย่น
1.2 รูปแบบของการผูกผ้าและการจับจีบผ้า
รูปแบบของการผูกผ้า มี 3 รูปแบบ คือ
- ดอก คือ ส่วนสำคัญขององค์ประกอบการทั้งหมด ถูกกำหนดให้เป็นจุดเด่น

- เฟื่อง คือ องค์ประกอบในการผูกผ้าเพื่อแก้ปัญหาด้านพื้นที่ เวลา และโครงสร้าง
- ระย้า คือ การผูกผ้าที่มีลักษณะเป็นพวงพุ่ม จะอยู่ภายใต้ดอกหรือเฟื่อง
รูปแบบของการจับจีบผ้า
1. การม้วน คือ การจับผ้าที่ใช้ในตกแต่งภายนอก โดยจับม้วนผ้าเป็นครึ่งวงกลม
ทิ้งช่วงห่าง ให้มีระยะงามพอดี

2. การพับ คือ การจับแนวตลบของสันทบผ้าที่ใช้ในการจับจีบให้มีลักษณะเป็นกลีบดอกบัว พับซ้อนกันเหมือนรูปทรงสามเหลี่ยม

3. การซ้อน คือ การจับแนวสัน ทบผ้าของจีบให้ติดกัน โดยใช้เข็ม หมุดกลัดตรงมุมให้ติดกันและ กำหนดช่องไฟให้สับหว่างกัน เหมือนสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

4. การจีบ คือ การทับซ้อนของผ้าที่มีขนาด ความกว้างและความลึกของจีบเท่ากันและ ในทิศทางเดียวกัน

5. การบิดเกลียว คือ การจับจีบชั้นบนที่ ต้องการตกแต่ง โดยจับมุมผ้าในทิศทาง เฉลียง 45 องศา แล้วยกริมผ้าให้ขนานกับขอบโต๊ะแล้วกำหนดความกว้างและความลึกของจีบ วางเสมอขอบโต๊ะ จะเกิดแนวทแยงบิดเกลียว แล้วจับทบซ้อน ให้มีขนาดความลึกของจีบเท่ากันและในทิศทางเดียวกัน

6. การย่นหรือการรูด คือ การจับริมผ้า หรือส่วนที่ต้องการตกแต่งจับรูดให้เป็น รอยย่น โดยเริ่มทำจากด้านล่างสู่ด้านบน เพื่อให้มีลักษณะพองฟูสวยงาม

กิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้ที่ 1
1. การจับจีบ หมายถึง ..........................................................................
2. การผูกผ้า หมายถึง ...........................................................................
3. การบิดเกลียว หมายถึง ......................................................................
4. ให้วาดรูปและระบายสีดอก เฟื่อง ระย้า ..............................................
5. การพับ หมายถึง ...............................................................................
2. โอกาสที่ใช้ในการผูกผ้าและจับจีบผ้า

การผูกผ้าและจับจีบผ้า นิยมใช้ในงานเทศกาลและงานพิธีในโอกาสต่าง ๆ ดังนี้
2.1 งานพระราชพิธี ( Royal Ceremony ) หมายถึง งานที่อยู่ในขนบธรรมเนียมและราชประเพณีของพระมหากษัตริย์ มีระเบียบ แบบแผนและขั้นตอนมีหมายกำหนดการอย่างเป็นพิธีการ เรียบร้อย รัดกุม และคำนึงถึงความปลอดภัย ซึ่งการประดับตกแต่งสถานที่ นิยมใช้ผ้าเป็นส่วนประกอบ แสดงดังรูป

รูปที่ 1 ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันเฉลิมพระชนม์พรรษา

รูปที่ 2 ภาพการจัดตกแต่งสถานที่ งานรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย


2.2 การจัดงานพิธี (Ceremony ) คือ งานที่กำหนดรูปแบบ โดยมีกำหนดการที่ชัดเจน ทราบจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของงาน เช่น งานแห่เทียนพรรษา งานวันมาฆบูชา งานศพ พิธีมอบใบประกาศนียบัตร แสดงดังรูป
รูปที่ 1 ภาพตกแต่งต้นเทียนพรรษา ณ จังหวัดสมุทรสาคร

รูปที่ 2 ภาพตกแต่งฐานพระ เนื่องในวันมาฆบูชา

รูปที่ 3 ภาพการตกแต่งสถานที่พระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาฯ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
รูปที่ 4 ภาพงานพิธีมอบประกาศนียบัตร ประจำปีการศึกษา 2550 ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสวภา

2.3 การจัดงานทางธุรกิจ คือ การที่ใช้สถานที่ตกแต่ง เพื่อให้เกิดความสวยงาม โดยมี
วัตถุประสงค์ของเจ้าของงานเป็นหลัก เช่น งานแต่งงาน การประชุม งานแถลงข่าว งานจัดเลี้ยงสังสรรค์งานสาธิตต่างๆ แสดงดังรูป

รูปที่ 1 ภาพการตกแต่งเวที งานแต่งงาน สโมสรทหารบก
รูปที่ 2 ภาพการตกแต่งโต๊ะประชุม ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา

รูปที่ 3 ภาพการตกแต่งสถานที่ งานเลี้ยงสังสรรค์ แสดงความยินดี นิสิต ปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รูปที่ 4 ภาพงานแถลงข่าว “ ครัวคุณหรีด” ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา
3. ประโยชน์ของการผูกผ้าและการจับจีบผ้า
3.1 ประโยชน์ของการผูกผ้า คือ การนำผลงานไปใช้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของงานที่ได้รับมอบหมาย กับผลงานที่ได้รับมอบหมาย ประโยชน์ที่ใช้ในการตกแต่งสถานที่ที่ต้องการเน้นให้เป็นจุดเด่น อันมีประธานและรองประธาน โดยเรียงลำดับตามความสำคัญ ใช้ตกแต่งโครงสร้างเคลื่อนที่และโครงสร้างถาวร โดยใช้การตกแต่งด้วยการผูกผ้า ด้วยดอก,เฟื่อง,ระย้า แสดงดังรูป
รูปที่ 1 ผูกผ้าเป็นรูปดอกมีเกสรสลับสี
รูปที่ 2 การผูกผ้ารูปดอกไม้เรียงลำดับเป็นแถว

3.2 ประโยชน์ของการจับจีบ หมายถึง การนำผลงานไปใช้ให้ตอบสนองความต้องการของงานนั้นๆ ได้อย่างเหมาะสม ใช้ในการจัดตกแต่งสถานที่ในงานประเภทต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานสาธิตต่างๆ การประชุมสัมมนา การจัดเลี้ยงแบบบุฟเฟ่ต การจัดเลี้ยงโต๊ะจีน โต๊ะลงทะเบียน ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบของการจัดงานที่สำคัญ เพราะถือเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ( Structure Standard) ก่อนที่ส่วนต่างๆจะลงมือตกแต่งได้ ปัจจุบันได้มีวิวัฒนาการมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดตกแต่งสถานที่ในโรงแรม และการบริการจัดเลี้ยงโต๊ะจีนฯลฯ แสดงดังรูป
รูปที่ 1 การจัดตกแต่งสถานที่งานแต่งงาน ณ สโมสรตำรวจ
รูปที่ 2 การจัดตกแต่งโต๊ะสาธิตอาหารไทย ณ วังปารุสก์สักวัน
รูปที่ 3 การจัดตกแต่งโต๊ะประชุม ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา
รูปที่ 4 การตกแต่งโต๊ะจัดเลี้ยงแบบบุปเฟ่ต์ ณ โรงเรียนอิสลามวิทยาลัย

รูปที่ 5 การตกแต่งโต๊ะจีนในงานแต่งงาน ณ สมาคมอิสลามแห่งประเทศไทย
รูปที่ 6 การตกแต่งโต๊ะลงทะเบียนงานแต่งงาน ณ สมาคมอิสลามแห่งประเทศไทย


บทสรุป
การผูกผ้าและจับจีบผ้า จัดเป็นองค์ประกอบโครงสร้างขั้นพื้นฐานของการจัดตกแต่งสถานที่ โดยแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ การผูกผ้า ( Bind Down ) การผูก การมัดและการจับดอก การทำเฟื่อง การทำระย้า นิยมใช้กับโครงสร้างขนาดใหญ่และใช้พื้นที่ที่มีความกว้างและความยาว เช่น การตกแต่งกำแพง เต้นท์ เวที การจับจีบผ้า ( Pleating ) การซ้อน , การพับ , การจีบ , การบิดเกลียว ให้เป็นลวดลายต่างๆ โดยสร้างจุดเด่นด้วยสีและผิวสัมผัสของผ้า ใช้ในการตกแต่งสถานที่ที่มีพื้นที่เฉพาะและเน้นรายละเอียด จากส่วนประกอบของการตกแต่ง เช่นงานแต่งงาน (Wedding Ceremony ) งานวันเกิด ( Birthday Party )









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น